รัฐบาลไทยได้ประกาศใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ “ไทยแลนด์ 4.0” เพื่อให้มีการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยแนวทางหนึ่ง คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้และการยกระดับคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเป็นสำคัญ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจึงได้ดำเนินโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของประเทศ หรืออินเตอร์เน็ตประชารัฐ เพื่อผลักดันให้คนไทยสามารถมีอินเทอร์เน็ตใช้งานได้อย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม รวมถึงเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับคนในพื้นที่ห่างไกล ให้มีโอกาสในการเข้าถึงการใช้งานได้ใกล้เคียงกับคนที่ได้รับบริการในเมืองใหญ่และส่งผลต่อการขับเคลื่อนประเทศให้สามารถทำควบคู่กันไปได้ทั่วประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) จึงได้ริเริ่มดำเนินโครงการศึกษาวิจัย Thailand Digital Outlook ระยะที่ 1 ในปีงบประมาณ 2561 โดยใช้แนวทางในการจัดเก็บตัวชี้วัด Measuring the Digital Transformation ตามองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (The Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) ซึ่งรัฐบาลไทยได้มีกรอบความร่วมมือกับ OECD ผ่านโครงการ Country Program ในการนำมาวิเคราะห์ภาพรวมของการพัฒนานโยบายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและนวัตกรรมของประเทศเพื่อนำผลการประเมินมาใช้ในการพิจารณากำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ได้ริเริ่มนำร่องการเก็บข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในสามจังหวัดนำร่อง ได้แก่ ราชบุรี สุพรรณบุรี และ กาญจนบุรี และสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ได้มีการดำเนินงานต่อเนื่องทุกปี (ปี พ.ศ. 2561 - 2566) เพื่อเป็นการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
ในปี 2567 จึงได้มีการต่อยอดการดำเนินงานและขยายกลุ่มตัวอย่างการสำรวจในพื้นที่ทั่วประเทศ รวมถึงการบูรณาการการสำรวจกับหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกัน การสำรวจจัดเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มธุรกิจเอกชน และหน่วยงานบริการปฐมภูมิ พร้อมทั้งมีการเพิ่มขอบเขตตัวชี้วัดตามกรอบ OECD Measuring the Digital Transformation และ Digital Economy Outlook ของ OECD ใน 8 มิติ ได้แก่ Access (การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล), Use (การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล), Innovation (นวัตกรรม), Jobs (การเปลี่ยนแปลงของอาชีพการงาน), Society (การเปลี่ยนแปลงของสังคม), Trust (ความเชื่อมั่น), Market Openness (การเปิดกว้างของตลาด) และ Growth & Well-Being (การเติบโตและสภาพความเป็นอยู่) พร้อมทำการศึกษาเปรียบเทียบผลการศึกษาในแต่ละปีต่อไป
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
สงวนลิขสิทธิ์ © 2567 สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ